วันอังคารที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2553

งานชิ้นที่ 4 วิเคราะห์ 5 Forces Model ธุรกิจไอศกรีมป่าตัน

1. ปัจจัยการเข้าสู่ธุรกิจ หรือผู้เข้ามาใหม่
- เนื่องด้วยไอศกรีมป่าตันเป็นธุรกิจขนาด Sme คู่แข่งขันจึงมีโอกาสจะเกิดขึ้นได้ง่ายในธุรกิจระดับเดียวกันแต่ถ้ามองในส่วนของต้นทุนในการผลิตทั้งเครื่องจักร แรงงาน และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ มีต้นทุนค่อนข้างสูงจึงทำให้คู่แขงขันรายใหม่อาจจะไม่เข้าสู่ธุรกิจไอศกรีมถ้าเงินทุนไม่สูงพอ ดังนี้นจึงสามารถมองได้ 2 ด้าน ตามที่ได้กล่าวมา
2. แรงผลักดันจากผู้ผลิตหรือคู่แข่งขันที่มีในอุตสาหกรรม
- มีคู่แข่งขันค่อนข้างมาก เช่น Swensen, Walls,Nestle,cremo แต่เป็นคู่แข่งขันคนละระดับแต่ป่าตันเป็นธุรกิจขนาด Sme ซึ่งกลุ่มผู้บริโภคจะต่างกันจึงทำให้การแข่งขันในระดับเดียวกันลดลงจึงมีโอกาสเติบโตขึ้น
- คนส่วนใหญ่จากการวิจัยที่ชอบรับประทานไอศกรีมจะเป็นคนในระดับการศึกษาปริญญาตรีถึงร้อยละ 47 แต่ส่วนใหญ่จะนิยมรับประทานไอศครีมที่มีชื่อเสียงแต่กลุ่มผู้บริโภคในท้องถิ่นจะนิยมบริโภคไอศครีมป่าตันเพราะเป็นที่รู้จักมานาน
3. อำนาจต่อรองของผู้ขาย (ซัพพลายเออร์)
- ผู้ขายวัตถุดิบมาอำนาจในการต่อรองค่อนข้างสูง เพราะไอศกรีมป่าตันเป็นธุรกิจขนาด Sme การสั่งซื้อวัตถุดิบต่อครั้งมีปริมาณน้อยเมื่อเทียบกับธุรกิจไอศครีมขนาดใหญ่
4. อำนาจการต่อรองของกลุ่มผู้ซื้อหรือลูกค้า
- ลูกค้ามีอำนาจในการต่อรองเมื่อสั่งซื้อในปริมาณมาก ๆ
- ค่านิยมของการบริโภคจะเปลี่ยนแปลงไปตามรายได้การยึดมั่นในตราสินค้าจึงลดลง
5. แรงผลักดันซึ่งเกิดจากสินค้าอื่นๆ ซึ่งสามารถใช้ทดแทนได้
- สินค้าที่สามารถทดแทนไอศกรีมได้มีค่อนข้างมากมีสินค้าทดแทนอื่นๆ เช่น น้ำผลไม้ น้ำแข็งใส นม และโยเกิร์ต

งานชิ้นที่ 3 วิเคราะห์ปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอกของ ธุรกิจไอศกรีมป่าตัน

1. P=Political
- การควบคุมราคาสินค้าของรัฐบาล (นม ,น้ำตาล) เป็นข้อดีในการผลิตเพราะราคาสินค้าจะถูกกำหนดโดยรัฐบาล ผู้ขายไม่สามารถขึ้นราคาเองได้
- นโยบายการส่งเสริมธุรกิจขนาด Sme
- นโยบายของรัฐในปี 2554 มุ่งฟื้นฟูผลกระทบจากอุทกภัยมากกว่าการส่งเสริมทางด้านอุตสาหกรรม
- สถานการณ์ชุมนุมทางการเมืองทำให้การผลิตลดลง ยอดขายลดลง เนื่องจากมีความวุ่นวาย ประชาชนอยู่กับบ้าน สถานีน้ำมันปิดบริการ การจัดซื้อวัตถุดิบล้าช้า
2. E=Economic
- แนวโน้มเศรษฐกิจปี 2554 เศรษฐกิจโดยรวมจะขยายตัวร้อยละ 3.5 – 4.5 เฉพาะส่วนของการบริโภคจะขยายตัวร้อยละ 4.3 เป็นแนวโน้มที่เป็นประโยชน์ต่อกิจการโดยรวม
3. S=Social
- ป่าตันแป็นไอศกรีมที่มีชื่อเสียงของจังหวัดเชียงใหม่และเป็นที่นิยมของคนในจังหวัดเชียงใหม่
- ค่านิยมที่เชื่อว่าการรับประทานไอศกรีมจะทำให้อ้วนขึ้น
- ค่านิยมของผู้บริโภคส่วนใหญ่จะรับประทานสินค้าที่มีชื่อเสียง เช่น Swensen, Walls,Nestle,cremo
4. T=Technological
- ในกระบวนการผลิตจำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้องในการผลิตเช่น กระบวนการ Pasteurization, Homogenization, Continuous Freezing และ Hardening การใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ช่วยให้สินค้ามีคุณภาพและสามารถผลิตได้รวดเร็ว
- เทคโนโลยีในการผลิตสามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายในการจ้างแรงงาน

วันอาทิตย์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

งานชิ้นที่ 2 วิเคราะห์ความน่าจะเป็นของธุรกิจที่เหมาะสมในเขตจังหวัดเชียงใหม่

ธุรกิจที่เลือก : ธุรกิจไทยล้านนาสปา
เหตุผลสนับสนุน
ที่มา : รายการ Smart Money : ทาง Money Channel True Visions 80 และ ททบ.5
ณรงค์ ตนานุวัฒน์ ประธานกรรมการหอการค้า จ.เชียงใหม่ ได้กล่าวในรายการ Smart Money ถึงเศรษฐกิจของจังหวัดเชียงใหม่ในปีที่ผ่านมา จากสถานการณ์ภายในประเทศที่มีความไม่แน่นอนและสถานการณ์เปลี่ยนแหลงได้ตลอดเวลา จึงทำให้นักลงทุนมีการชะลอการลงทุนไปบ้างแต่การที่จังหวัดเชียงใหม่เป็นจังหวัดศูนย์กลางการท่องเที่ยวภาคเหนือซึ่งดูได้จากรายได้รวมของจังหวัดเชียงใหม่ กว่า 40% เป็นรายได้มาจากการท่องเที่ยว จึงทำให้นักลงทุนทั้งนอกและในจังหวัดเชียงใหม่ที่มองเห็นช่องทางการลงทุนนี้เข้ามาลงทุนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจกิจการท่องเที่ยวและบริการภายในจังหวัดมากขึ้น
ธุรกิจหลักของเชียงใหม่นั้นเป็นธุรกิจการท่องเที่ยวที่เชื่อมโยงกับด้านศิลปวัฒนธรรม โดยเฉพาะวัฒนธรรมล้านนาที่เก่าแก่แต่มีมนต์เสนห์อย่างมาก สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวเข้ามาเยี่ยมชมและรับรู้ถึงวัฒนธรรมอันเก่าแก่ได้เป็นอย่างดี
สอดคล้องกับ สมาคมไทยล้านนาสปา ที่วิเคราะห์ธุรกิจสปาเดือน กรกฏาคม 53 เริ่มฟื้นตัว หลัง 6 เดือนแรกลดลงมากที่สุดในรอบ 7 ปี กว่า 70% สาเหตุเพราะการเมืองภายใน
นายภาคิน พลอยภิชา นากยกสมาคมไทยล้านนาสปา เปิดเผยกับ"กรุงเทพธุรกิจ"ว่า ภาพรวมธุรกิจ สปา ในเดือน กรกฏาคม นี้ถือว่าปรับตัวดีขั้นมากจากต้นปี 2553 มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นกว่า 50% เป็นสัญญาณและแนวโน้มที่ดีของธุรกิจสปาล้านนาในปี 2554 โดยเผยว่าหลังจากเดือนกรกฎาคมเป็นต้นไปจะเป็นช่วงไฮซีซันจะมีรายได้จากธุรกิจสปาโดยประมาณ 700-800 ล้านบาทและส่วนของ จังหวัดเชียงใหม่ซึ่งรัฐบาลมีเป้าหมายผลักดันให้เป็นศูนย์กลางบริการด้านสุขภาพของภูมิภาค มีศักยภาพและความพร้อมเป็นศูนย์กลางได้ เพราะธุรกิจที่เกี่ยวข้องมีการขยายตัวและเติบโตค่อนข้างสูง ทั้งกลุ่มโรงพยาบาล สปา นวดไทย ซึ่งในวงการท่องเที่ยวทราบกันดีว่า จ.เชียงใหม่มีชื่อเสียงทางด้านสปา

วันศุกร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

งานชิ้นที่ 1 วิเคราะห์ SWOT

วิเคราะห์ SWOT ตัวเองทางด้านบริหารธุรกิจและเทคโนโลยี
Strengths :
- มีทักษะในการเรียนรู้งานทางด้านบริหารและเทคโนโลยีค่อนข้างเร็ว
- มีทักษะในการติดต่อสื่อสารกับบุคคลภายนอกได้ดี
- มีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์เพื่องานธุรกิจค่อนข้างดี
- มีความสนใจใฝ่รู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีค่อนข้างสูง
Weakness :
- ประสบการณ์ทางด้านการเขียนโปรแกรมภาษายังมีน้อยมากไม่เพียงพอต่อการประกอบอาชีพ
- ความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษยังอยู่ในระดับต่ำมาก
- ขาดความสามารถในการวิเคราะห์ระบบเครือข่ายและการวางแผนธุรกิจ
Opportunities :
- ยังมีโอกาสในการเพิ่มพูนความรู้เพราะปัจจุบันกำลังศึกษาอยู่และมีโอกาสจะศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น
Therats :
- ส่วนใหญ่ในหลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศทางธุรกิจมุ่งเน้นให้เรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีเป็นส่วนใหญ่จึงทำให้ความรู้ทางด้านบริหารธุรกิจมีน้อยกว่า