วันอังคารที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2553

งานชิ้นที่ 4 วิเคราะห์ 5 Forces Model ธุรกิจไอศกรีมป่าตัน

1. ปัจจัยการเข้าสู่ธุรกิจ หรือผู้เข้ามาใหม่
- เนื่องด้วยไอศกรีมป่าตันเป็นธุรกิจขนาด Sme คู่แข่งขันจึงมีโอกาสจะเกิดขึ้นได้ง่ายในธุรกิจระดับเดียวกันแต่ถ้ามองในส่วนของต้นทุนในการผลิตทั้งเครื่องจักร แรงงาน และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ มีต้นทุนค่อนข้างสูงจึงทำให้คู่แขงขันรายใหม่อาจจะไม่เข้าสู่ธุรกิจไอศกรีมถ้าเงินทุนไม่สูงพอ ดังนี้นจึงสามารถมองได้ 2 ด้าน ตามที่ได้กล่าวมา
2. แรงผลักดันจากผู้ผลิตหรือคู่แข่งขันที่มีในอุตสาหกรรม
- มีคู่แข่งขันค่อนข้างมาก เช่น Swensen, Walls,Nestle,cremo แต่เป็นคู่แข่งขันคนละระดับแต่ป่าตันเป็นธุรกิจขนาด Sme ซึ่งกลุ่มผู้บริโภคจะต่างกันจึงทำให้การแข่งขันในระดับเดียวกันลดลงจึงมีโอกาสเติบโตขึ้น
- คนส่วนใหญ่จากการวิจัยที่ชอบรับประทานไอศกรีมจะเป็นคนในระดับการศึกษาปริญญาตรีถึงร้อยละ 47 แต่ส่วนใหญ่จะนิยมรับประทานไอศครีมที่มีชื่อเสียงแต่กลุ่มผู้บริโภคในท้องถิ่นจะนิยมบริโภคไอศครีมป่าตันเพราะเป็นที่รู้จักมานาน
3. อำนาจต่อรองของผู้ขาย (ซัพพลายเออร์)
- ผู้ขายวัตถุดิบมาอำนาจในการต่อรองค่อนข้างสูง เพราะไอศกรีมป่าตันเป็นธุรกิจขนาด Sme การสั่งซื้อวัตถุดิบต่อครั้งมีปริมาณน้อยเมื่อเทียบกับธุรกิจไอศครีมขนาดใหญ่
4. อำนาจการต่อรองของกลุ่มผู้ซื้อหรือลูกค้า
- ลูกค้ามีอำนาจในการต่อรองเมื่อสั่งซื้อในปริมาณมาก ๆ
- ค่านิยมของการบริโภคจะเปลี่ยนแปลงไปตามรายได้การยึดมั่นในตราสินค้าจึงลดลง
5. แรงผลักดันซึ่งเกิดจากสินค้าอื่นๆ ซึ่งสามารถใช้ทดแทนได้
- สินค้าที่สามารถทดแทนไอศกรีมได้มีค่อนข้างมากมีสินค้าทดแทนอื่นๆ เช่น น้ำผลไม้ น้ำแข็งใส นม และโยเกิร์ต

ไม่มีความคิดเห็น: